ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งพังงา เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2528 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเพาะพันธุ์หอยแครง หอยนางรม และกุ้ง ใช้งบประมาณจากโครงการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกองทุนความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารจากประเทศญี่ปุ่น
เป็นเงินรวม 15 ล้านบาท โดยแยกเป็นเงินยืมไม่เสียดอกเบี้ย จำนวน 11 ล้านบาท กำหนดชำระคืนใน 8 ปี ระยะปลอดหนี้ 3 ปี และเงินจ่ายขาดจำนวน 4 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง
ในระยะแรกได้รับการตั้งชื่อเป็น “สถานีพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยจังหวัดพังงา” ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตสัตว์น้ำในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดพังงา” แล้วยกระดับเป็น “ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา” และในปี พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นปัจจุบันตามการปรับโครงสร้างในการปฏิรูประบบราชการของประเทศ
ก่อตั้งเพื่อ ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ทดสอบงานวิจัยเพื่อเชื่อมโยงกับสถาบันวิจัยกุ้งทะเล สถาบันวิจัยอาหารสัตว์น้ำชายฝั่งและสถาบันวิจัยโรคสัตว์น้ำชายฝั่ง และใช้เทคโนโลยีเพื่อขยายผลในเชิงพาณิชย์
การจัดการระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเชิงอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในด้านชีววิทยาและสมดุลของระบบนิเวศน์ กำหนดมาตรฐานการตรวจสอบผลผลิตจากการทำการประมงชายฝั่ง และตรวจรับรองกระบวนการผลิตสัตว์น้ำชายฝั่งให้ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม อ่านต่อ